top of page

Welcome to Chromatic Approch

Naturally Curious

Shooting Star

1 Style 2 Attitude

By Mr. Nitiruch  Junsiri

Home: Welcome

1 Style

       2 Attitude

         Charlie Parker และ Paul Desmond ทั้ง 2 คนนี้เป็นนัก Alto Saxophone ที่มีชื่อเสียงมากในปี 1960 ทั้ง 2 คนนี้ต่างใช้ Chromatic ในการเคลื่อนที่เข้าหาโน้ตสำคัญของแต่ละคอร์ดในการโซโล่ทั้งสิ้น แต่ด้วยเหตุใดจึงทำให้ความรู้สึก ของการเล่นของสองคนนึ้ต่างกันโดยสิ้นเชิง Charlie Parker นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในยุค Bebop มาก Bebop นั้น เป็นดนตรี Jazz ที่เกิดขึ้นโดยคนผิวสีที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกของอเมริกา ส่วน Paul Desmond นั่นก็เป้นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากใน ฝั่งของตะวันตกของอเมริกา และทำให้เกิด Style ที่ชื่อว่า West coast หรือในนามที่รู้กันว่า Jazz แบบคนผิวขาวที่ได้แรงบัลดาลใจมาจาก Bebop ซึ้งฝั่งนี้ พื้นฐานครอบครัวส่วนมากจะเป็นผู้ดี ทุกครอบครัวก้าวแรกในโลกดนตรีล้วนเกิดขึ้นจากการเริ่มเล่นเปียโนคลาสสิค เพลงคลาสสิค ทำให้ การใช้ Choromatic ของฝั่งนี้จะมีความเป็นระเบียบแบบแผนมากพอสมควรถ้าเปรียบเทียบกับ Bebop ที่ให้ความสำคัญกับการได้ยิน ความรู้สึกมากกว่าทฤษฎี โดยผมจะยก 2 บทเพลงที่เป้นที่นิยมมากในวงการแจ๊ส และยังเป็นบทเพลงที่มีการบันถึกเสียงของทั้ง Charlie Parker และ Paul Desmond มาถ่ายทอดในรูปแบบของผมด้วย ว่า ถึงเป็นบทเพลงเพลงเดียวกัน แต่ 2 คนนี้เล่นต่างกันอย่างไร

We are all told, “live your life to the fullest”; I am here to do just that. 1 Style 2 Attitude serves as a vessel to project my passions, and clue in my loyal readers as to what inspires me in this crazy world. So, sit back, relax, and read on.

Home: Welcome
Eclipse

Program

All The Thing You Are

ประพันธ์โดย Jerome Kern และได้มีการเรียบเรียงเนื้อร้องโดย Oscar Hammerstein II บทเพลงนี้ถูกนำไปใช้ในละครเวทีเรื่อง Very Warm for May ในปี ค.ศ.1939 และได้รับคำแนะนำ จาก Hiram Sherman, Frances Mercer, Hollace Shaw, และ Ralph Stuart ให้เพลงนี้ปาก Broadway Rhythm ในปี 1944 บทเพลงนีในตอนนั้นมักไม่ค่อยถูกเล่นบ่อยนักในฉบับคนร้อง แต่มาในภายหลัง ได้ถือว่าเป็นเพลง ประจำของนักร้องแจ๊สหลายๆคนไปเลยทีเดียว โดยเพลงนี้จะมีฟอร์มเพลงเป็นมี A A2 B A3 โดยมีทั้งหมด 36 ห้อง ในทางเมโลดี้จะเล่น โน้ตตัวที่ 3 ของแต่ละคอร์ด เปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยทั้งเพลงจะมีการเปลี่ยนคีย์อยู่ทั้งหมด 5 key โดยเริ่มจาก คีย์ F - C - Eb - G และ E และยังเป็นหนึ่งในบทเพลงที่นักเรียน หรือนักดนตรีแจ๊สทุกคนต้องศึกษาด้วย

Body and Soul

ถือว่าเป็นบทเพลง Standart Jazz ที่ได้รับความนิยมมาก ในปี 1930 ที่ได้รับการประพันธ์โดย Johnny Green และได้ถูกนับมาเรียบเรียงเนื้อร้องโดย Edward Heyman, Robert Sour และ Frank Eyton บทเพลง Body And Soul ถูกประพันธ์ใน New York เพื่อใช้ในการแสดงให้กับนักร้องชาวอังกฤษชื่อ Gertrude Lawrence ถูกนำมาแสดงครั้งแรกใน United States โดย  Libby Holman  ในปี 1930 ในรูปแบบ Broadway โดย Britain orchestras ที่ควบคุมโดย Jack Hylton เป้นผู้บรรเลง และ Body And Soul ได้ถูกบันถึงเสียง ด้วย เครื่องดนตรีครั้งแรกโดย Louis Armstrong ในปี 1930 ด้วย

Home: Welcome
Black Sky
Charlie-Parker-Bird-web-optimised-1000.j

Charlie Parker

 

Charles “Bird” Parker, Jr. หรือบรรดานักฟังเพลงแจ๊สตัวยงจะรู้จักกันดีในชื่อ Charlie Parker เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1920 เป็นนักอัลโตแซ็กโซโฟนแจ๊สชาวอเมริกัน ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่ง “Bebop” เกิดที่เมือง Kansas City มลรัฐ Texas สหรัฐอเมริกา บิดาของเขาเป็นพ่อครัวบนรถไฟที่อดีตเคยเป็นนักเปียโนและนักเต้นรำมาก่อน ส่วนทางด้านมารดาทำงานที่สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง Charlie เริ่มเล่นแซ็กโซโฟนเป็นครั้งแรกตอนอายุเพียง 11 ปี โดยเช่าแซ็กโซโฟนมาเล่น เขาไม่ได้ร่ำเรียนศาสตร์นี้อย่างเป็นระบบ หากแต่หัดเล่นรวมทั้งค้นหาประสบการณ์บนเวทีด้วยตัวเอง จนวันหนึ่งมือกลองทนฟังเขาเล่นไม่ได้อีกต่อไป ขว้างฉาบใส่ขณะเขากำลังเป่าแซ็กฯ เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ Charlie ถึงกับโกรธแค้นมาก จึงกลับไปเรียนรู้ทฤษฎีเพิ่มเติม โดยการสังเกตพร้อมฟังเพลงจากนักดนตรีรุ่นใหญ่ ฝึกฝนอย่างหนักจนถึงอายุ 15 ปี ทำให้เสียงดนตรีของเขามีความแตกต่างจากสไตล์การเล่นในสมัยนั้นอยู่มาก ชื่อเสียงเริ่มโด่งดังไปทั่วเมือง Kansas City กระทั่งได้รวมวงกับ Count Basie วงดนตรีชั้นนำของเมือง จากนั้นก็พยายามพัฒนาเทคนิคมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี 1937 เขาร่วมวงกับ Jay McShann ในการออกทัวร์เล่นดนตรีตาม Night Club ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา อีก 2 ปีต่อมา เขาได้ย้ายไปมหานคร New York ทำงานเป็นนักดนตรีพร้อมประกอบอาชีพอื่น ๆไปด้วย เช่น ล้างจาน จากนั้นจึงร่วมวงกับ Earl Hin, Dizzy Gillespie ก่อนจะแยกตัวออกมาตั้งวงของตนเองในภายหลัง สมัยนั้นยังเป็นยุคที่ดนตรี Swing และ Big Band กำลังเฟื่องฟูถึงขีดสุด แต่ Charles กลับรู้สึกเบื่อหน่ายกับรูปแบบอันซ้ำซาก เขาจึงแสวงหาแนวทางใหม่ๆ อยู่เสมอ ด้วยการเข้าไปร่วมบรรเลงกับนักดนตรีคนอื่น ๆ ในวงขนาดเล็กและเล่นดนตรีตามความชอบของตัวเองเป็นหลักจนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่กำลังมีส่วนร่วมกับเพลง “Cherokee” กับ William “Biddy” Fleet เขาก็ลองเล่นตาม “เสียงที่ได้ยิน” ออกมาเป็นครั้งแรก จนกระทั่งกลายเป็นแจ๊สแนวใหม่เรียกว่า “Bebop” ซึ่งเป็นดนตรีที่เล่นในทำนองรวดเร็ว เข้าถึงอารมณ์ มีจังหวะซับซ้อน รวมทั้งมีการด้นสดซึ่งบิดผันทำนองเดิม ๆ ไปมาก แต่ในขณะเดียวกัน นักดนตรี Big Band มีชื่อหลายคนอย่าง Tommy Dorsey และ Louis Armstrong ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า “Bebop” ทำให้แจ๊สถอยหลังเข้าคลอง แต่ถึงกระนั้น “Bebop” ก็ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก จนเติบโตต่อมากลายเป็น Cool Jazz , Hard Bop , Modal Jazz , Free Jazz ในที่สุด จึงเรียกได้ว่า “Bebop” เป็นการปฏิวัติวงการแจ๊สไปสู่ยุคใหม่ Charlie ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักดนตรีที่ขยันฝึกซ้อม , ชอบหาเทคนิคใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะค่อนข้างเอาแต่ใจและขาดความรับผิดชอบก็ตาม นอกจากนี้ข้อเสียของเขาอีกด้าน คือ ติดเหล้ากับเฮโรอีน อย่างหนัก ทำให้เขาต้องจากไปในวัยหนุ่มเพียง 34 ปี ในวันที่ 12 มีนาคม 1955 ด้วยอาการปอดอักเสบ

 

CHARLIE PARKER ผู้คิดค้นแจ๊สแนวทางใหม่ จากการเริ่มต้นเล่นดนตรีด้วยการเล่นเอง ซ้อมเอง นั่นทำให้เค้ามักจะไม่ยึดติดกับกรอบเดิมของดนตรีแจ๊สในตอนนั้น เค้าเริ่มที่จะเบื่อเสียง เบื่อทำนองเดิมๆที่เคยเล่นกัน ทำให้เค้าลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่จากการเล่นตามรูปแบบที่กำหนด เปลี่ยนมาเป็นเล่นตามเสียงที่ได้ยิน นั่นทำให้เสียงที่เคยได้ยินมาตลอดนั้นเพี้ยนหรือเปลี่ยนไป แต่ฟังแล้วมันกลับให้ความรู้สึกดี และแปลกมากในตอนนั้น ทำให้เค้าและเพื่อนนักดนตรีอย่าง ดิซซี และ มังค์ ได้พัฒนาแนวทางใหม่นี้เรื่อยมาจนกลายเป็นที่ยอมรับของวงการแจ๊สในที่สุด ผลงานของ CHARLIE PARKER ผลงานของ Charlie Parker เพลงแรกที่แนะนำว่าให้ไปหามาฟัง Bird of Paradise เพลงนี้พอกดฟังปุ๊บเสียงแซกโซโฟน จะดังขึ้นมาเป็นเสียงแรกเลยท่วงทำนองที่รวดเร็ว จังหวะจะโคนแตกต่างจากแจ๊สแบบอื่นในยุคสมัยนั้น น่าจะทำให้เรารู้สึกทึ่งมากทีเดียว เพลง Now’s the Time เพลงนี้เชื่อไหมว่าฟังแล้วมันให้ความรู้สึกว่าเหมือนแซกโซโฟนกำลังทำหน้าที่ร้องนำให้กับเพลงนี้อยู่ ใครอยากรู้ว่าเป็นยังไง ให้ลองกดฟังดูแล้วจะรู้ว่า Charlie Parker เป็นนักดนตรีอีกคนหนึ่งที่ใครเล่น แซกโซโฟน ต้องไปศึกษาผลงานดนตรีของเค้าด่วนเลย

Home: Welcome
Painted Space
maxresdefault.jpg

 Paul  Desmond

 

 Paul  Desmond (เกิด Paul Emil Breitenfeld, 25 พฤศจิกายน 1924 - 30 พฤษภาคม 1977) เป็นนักแซ็กโซโฟนและนักแต่งเพลงแจ๊สชาวอเมริกันอัลโตที่รู้จักกันดีในการทำงานกับ Dave Brubeck Quartet และแต่งเพลงฮิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกลุ่ม เขาเป็นหนึ่งในนักดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการดนตรีแจ๊ส  นอกเหนือจากงานของเขากับ Brubeck แล้วเขายังได้เป็นผู้นำหลายกลุ่มและร่วมมือกับ Gerry Mulligan, เจตน์เบเกอร์, Jim Hall และ Ed Bickert หลังจากหลายปีของการสูบบุหรี่ในห่วงโซ่และสุขภาพไม่ดีเดสมอนด์ยอมจำนนต่อโรคมะเร็งปอดในปี 2520 หลังจากทัวร์กับ Brubeck  ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นอัจฉริยะของเขาในฐานะผู้ทำกลอนที่ไพเราะและเป็นมาตรฐานของผู้เล่นแจ๊สแซ็กโซโฟน โทนสีอันอบอุ่นและสง่างามของเขาเป็นสิ่งที่เขาพยายามทำให้เสียงเหมือนมาร์ตินี่แห้ง เขาและอาร์ทเปปเปอร์เป็นนักเล่นอัลโตเพียงคนเดียวในรุ่นที่ไม่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากชาร์ลีปาร์คเกอร์ เดสมอนด์ได้รับอิทธิพลจากเลสเตอร์ยัง แต่นำมันไปสู่โลกอันไพเราะและฮาร์โมนิกที่ไม่เคยเดินทางมาโดย reedmen - โดยเฉพาะในรีจิสเตอร์บน เดสมอนด์เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับ Dave Brubeck Quartet (1959-2510) และองค์ประกอบที่รู้จักกันดีของเขา "Take Five" เขาพบกับ Brubeck ในช่วงปลายยุค 40 และเล่นกับ Octet ของเขา Quartet ก่อตัวขึ้นในช่วงปลายปี 1950 และได้เป็นรูปเป็นร่างสุดท้ายกับ Eugene Wright และ Joe Morello อีกไม่กี่ปีต่อมา ดนตรีแจ๊สที่ Oberlin และ Take Five ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการซื้อของนักศึกษาในยุคนั้น เดสมอนด์เล่นโซโลของเขาช้าสั่งและสลับซับซ้อนตรงข้ามกับความหลงใหลของนักเปียโนที่มีคอร์ดขนาดใหญ่สร้างพื้นผิวมากมายสำหรับความแตกต่างอันไพเราะและลีลาซึ่งแตกต่างจากที่เคยได้ยินในดนตรีแจ๊ส ใบเสนอราคาที่เฉียบแหลมของเขาจากละครเพลงชิ้นคลาสสิกและเพลงพื้นบ้านก็เป็นลายน้ำของงานศิลปะของเขาเช่นกัน เมื่อสี่แยกในปี 1967 เดสมอนด์เริ่มอาชีพการบันทึกเสียงที่ไม่ต่อเนื่อง มันรวมถึงวันที่กับเจอร์รี่มัลลิแกนสำหรับ Verve ช่วงต่าง ๆ กับจิมฮอลล์และคอนเสิร์ตกับ Modern Jazz Quartet เขาเล่นกิ๊กสุดท้ายของเขากับ Brubeck Quartet ที่ reunions ก่อนที่จะตายด้วยโรคมะเร็งปอด การบันทึกของ Desmond สำหรับ RCA ได้รับการรักษาด้วยชุดกล่องและโมเสกได้ออกรายการหนึ่งในเซสชันที่สมบูรณ์กับ Hall นอกจากนี้ยังมี reissues จาก A&M และ CTI แม้ว่าการบันทึกใน Artist House และ Finesse ยังคงน่าเบื่อจากการพิมพ์

Home: Welcome
Home: Welcome

ความแตกต่างตั้งแต่เริ่มเล่นเมโลดี้ ไปจนถึงการ Improvise ให้เห็นถึงความแตกต่างในการเล่นแม้จะเป็นบทเพลงเดียวกัน แต่ถูกถ่ายทอดมาโดยนักดนตรีที่เรียกได้ว่า คนละยุคคนละสไตล์เลยก็ว่าได้ โดยผมยกมา 2 บทเพลงที่นิยมในยุคนั้น กับ 2 คนที่เป็นถึงแนวหน้าของ ดนตรีสไตล์ในยุคนั้น และเล่นเครื่องเดียวกัน ได้แก่ Paul Desmond และ Charlie Parker และในการแสดงของผมนั้น ในการโซโล่รอบแรกๆนั้นจะอ้างอิงจาก แนวทางการโซโล่โดยมี Transcription ของศิลปินนั้นเป็นพื้น และในท่อนโซโล่ต่อมาจะเอาวิธีคิดเหล่านั้นมาเล่นต่อในมุมมองของผมเอง

Home: Welcome
Grunge Rock

All The Thing You Are - Paul Desmond

ในส่วนของ เมโลดี้นั้น จะเห็นได้ว่า ไม่มีการเปลี่ยนไปจากต้นฉบับเดิมเลยเรียบง่าย และเล่นน้อย ประหนึ่งว่า ลองโทนกันเลยทีเดียว พอจบในส่วนของเมโลดี้นั้น จะมีการใช้ Chromatic ในการส่งเข้าหา Solo และในส่วนต่อมานั้นจะสังเกตได้ชัดว่า จะมีการเล่น Motip ค่อนข้างบ่อย และมีการพักประโยคในการ Improvise ไม่ซัดยาวต่อเนื่อง มีการแบ่งวรรค คล้ายกับการร้องเพลง แบ่งจุดหายใจ ซึ้งทำให้สบายต่อการฟัง และมากกว่านั้น Paul จะเน้นการโชว์การเล่น Swings Feel ผ่าน โน็ต เขบ็ต 1 ชั้นค่อนข้างชัดมากเลยทีเดียว โดยสรุปแล้วถ้าสังเกตกันดีๆ Paul จะมีการ Improvise ที่นิยมใช้ โน้ต เข็บหนึ่งชั้นเป็นหลักเลยก็ว่าได้ทำให้ ตัวเขานั้นได้ถือว่าเป็น แถวหน้าของ Cool Jazz เลยก็ว่าได้

 

 

All The Thing You Are - Charlie Parker

ในส่วนของ เมโลดี้นั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการใช้โน้ตอย่างหลายหลายซึ้งแตกต่างกับของ Paul ค่อนข้างมาก และในระหว่างที่ Paul จะค่อยๆดำเนินเรื่องในการเล่น Parker จะมองว่าที่ไหนมีช่องว่างที่นั้น ต้องมีความซุกซน โดยการใส่ Lick หรือ ประโยคโน้ตที่ตนเองชอบเล่น มาดัดแปลงใส่เข้าไปตลอด จึงทำให้บทเพลงออกมาค่อนข้าง ไม่สุขุมมีความทะเล้นแตกต่างกับของ Paul โดยสิ้นเชิง และถ้าลองสังเกตดีๆ จะเห็นได้ชัดว่า Parker จะแตกต่างจาก Paul ในการใช้โน้ตในการ Improvise อย่างสิ้นเชิงนั้นก็คือ มีการนำ เขบ็ต 2 ชั้น และ 3 พยางค์มาใช้เป็นปกติเลยนั้นเลยเป็นหนึ่งใน จุดเด่นของ Parker ที่สามารถ ด้นสดได้หลากหลายส่วนโน้ตหลายๆโน้ตภายในไม่กี่วินาที แล้วออกมาสวยงาม Parker จึงได้ถือว่า สุดยอดของ

Home: Blog2

Jazz สาย Be-bop

Body And Soul ถือว่าเป็นเพลง Ballad ที่นิยมมากในช่วงนั้นเลยก็ว่าได้ และมากไปกว่านั้น ถูก ทั้ง Parker และ Paul นำมาถ่ายทอด ซึ้งเพลงนี้จะแสดงให้เห็นความแตกต่างตั้งแต่ เมโลดี้เลยก็ว่าได้ เพราะต่างคนต่าง มีการเริ่มตกแต่งผลงานศิลปะของตนตั้งแต่เริ่มเลย แต่ก็ยัง มีบุคลิคของทั้ง 2 ชัดเจนอยู่

Starry Night

Body And Soul - Paul Desmond

เปิดเพลงมาในส่วนของ เมโลดี้นั้น จะมีการ Pick - up โน้ตมาอย่างสวยงามเลยเพื่อส่งเข้าหาในส่วนของ เมโลดี้ จนมาถึงประโยคถัดไปของ เมโลดี้ Paul ไม่เล่นตามเพลงต้นฉบับ แต่มีการสร้างสรรค์โน้ตขึ้นมาทำให้เกิด Motif อย่างชัดเจนเลยก็ว่าได้ จนถึงท่อน B Paul ได้นำบรรไดเสียงของ คอร์ดในท่อนนั้นมาเรียงเลยก็ว่าได้ ซึ้งจะไม่มีทางได้เห็นเลยในการบรรเลง ในแบบ Parker และอีกจุดใหญ่ๆที่หน้าจับตาคือ Paul มีการนำ เขบ็ต 2 ชั้นและ 3 พยางค์มาใช้แต่ ไม่ได้นำมาใช้แบบเดียวกันกับ Parker Paul นั้นนำมาเรียงให้เห็นการเคลื่อนไหวของโน้ต อย่างชัดเจน แล้วทุกครั้งที่มีการใช้ เขบ็ต 2 ชั้นนั้น จะถือว่าเป็น Pattern เลยก็ว่าได้ มีที่ทิศทางที่แน่ชัดซึ้งแตกต่างกับ Parker ที่จะมีการอ้อมรอบโน้ตหลักอยู่เสมอ

Body And Soul - Charlie Parker

เปิดเพลงมา เห็นได้ชัดเลยมีการ Pick - up โน้ตแบบเดียวกันกับ Paul แต่ไอเดียของ Parker นั้น จะมองว่าควร Pick-up แล้ว รีโซฟไปหาโน้ตหลักซึ่งในส่วนของ Paul นั้นจะ Chromatic ขึ้นไปหาตัวหลัก ในส่วนต่อมา จะเห็นเลยว่า Parker ก็คือ Parker ช่องว่างต้องมีการเติมเต็ม แต่ในรอบนี้ ดู Parker ไม่ค่อยเคารพเมโลดี้ต้นฉบับเท่าไหร่นัก โดยเขานั้นได้ยัด เขบ็ต 2 ชั้นและ 3 พยางคืใน แบบของเขาเข้าไปโดยไม่ต้องคาดเดาเลยก็ว่าได้ ทำให้เห้นว่า การตีความของเขาในเพลงนี้ ถึงตัวเพลงจะเป็นอารมณ์เศร้านั้น แต่เขาแสดงให้เราเห็นว่า ความเศร้ามันอยู่ก้นบึ้งของ นิสัยทะเล้น หรืออีกนัยหนึ่งที่ว่า แม้เราจะเศร้าแค่ไหน อย่าปล่อยพลังงานลบแก่ผู้ชม ทำให้การตีความของเขานั้น เป็นที่ฮือฮาเลยว่า ไม่นึกว่าเพลงที่มี บุคคลิค เศร้าจะสามารถ ถ่ายทอดออกใาในเชิงนี้ได้ซึ้งถือว่าสวยงามไปอีกแบบในเชิงผลงานศิลปะ แม้จะมีหลายคนออกมาวิภาควิจารยืถึงการที่เขาไม่เคารพต้นฉบับมากนัก แต่ก็ยังมีอีกหลายคน ชื่นชมในการจิตนาการและถ่ายทอดของเขา

Search
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Cone Shape Lamps

aboutus

I’m a paragraph. Double click here or click Edit Text to add some text of your own or to change the font. Tell your visitors a bit about your services.

LEARN MORE
bottom of page